Shadow puppet
Shadow Puppet is flat and craved. It's attached in the middle with
a stick. There might be more sticks linked to other limbs to make them
moveable. Nang Talung and Nang Yai are also considered shadow puppet.
It is manipulated by putting in between light source and the screen.
The audience will not see the puppet but its shadow. The materials could
be thick paper, transparent glass or plastic. Colors could be painted
if needed and colors will also appear once shone on the screen
(Theatre Teaching and Theatre for Children Manual, Grass Root Micro Media
Project, 115).
Components of Shadow Play
Puppet depends on the material used such as paper,
leather, natural objects, parts of body, etc. Screen-- clothes, translucent
paper, white T-shirt,
bed sheet, etc. Light can be many types which would create different
dimensions. Puppeteer Voice for story telling.
Basic
Steps to Make Shadow Puppet
Materials:
- thick paper
- transparent colored paper/plastic
- glue
- scissors,
cutter
- stick
- transparent tape
- hole maker equipment
- two leg pecker/ nail
- pen, pencil
Steps
- Draw the desired picture on the thick paper.
- Cut out
the area that is designed to have light goes through or to be colored.
- Put
transparent colored paper on the craved area.
- Attached
the stick to the puppet using transparent tape.
For Jointed Puppet - Draw the desired picture on an A4
or thin paper.
- Copy it on the thick paper by separating
the limbs to be jointed from the main body and sparing some space
for jointing.
- Nail the pieces by the joint with the pecker/nail
where it is to be moved.
- Try moving the puppet. Attach
sticks to it and other end of the moveable parts.
Fundamental Technics for Shadow Play
Voiceover and puppet manipulation have to be relevant.
Puppet and its
distance to the light source affect the shadow: the shadow has its
actual size when placed close to the screen but the closer the puppet
is to
the light, the bigger the shadow will be. However, the application
of technics depends on each personal's imagination and, mostly, experiments.
Check out our course and read what others say about our course
หุ่นเงา
มีลักษณะเป็นหุ่นแบนๆ เจาะลายฉลุมีไม้เสียบกลางตัวหุ่น และมีไม้โยงจากอวัยวะส่วนหนึ่งที่ต้องการให้เคลื่อนไหว
หนังตะลุง หรือหนังใหญ่ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ การเชิดใช้แสงส่องผ่านตัวหุ่น ให้เงาหุ่นปรากฏบนจอผ้าขาวที่ขึงไว้
คนดูจะไม่เห็นตัวหุ่น จะเห็นเฉพาะเงาของหุ่น วัสดุที่ใช้ทำอาจเป็นหนัง กระดาษแข็ง
กระจกใส หรือพลาสติกก็ได้ เมื่อต้องการให้ออกมาเป็นสี ก็ทาสีต่างๆลงไป เมื่อเวลาส่องไฟผ่านก็จะเห็นสีสรรต่างๆ
ปรากฏที่จอด้วย
(คู่มือการใช้สื่อการสอนแบบละคร และการละครสำหรับเด็ก จัดพิมพ์โดย โครงการสื่อชาวบ้าน
มิถุนายน 2548 , น.115)
องค์ประกอบของละครหุ่นเงา - ตัวหุ่นเงา ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้
เช่น กระดาษ หนัง วัสดุธรรมชาติ ส่วนต่างของร่าง กาย ฯลฯ ฉาก ผ้าฉาก กระดาษโปร่งแสง
เสื้อยืดขาว ผ้าปูที่นอน แล้วแต่จะดัดแปลงมาใช้
ไฟ ไฟหลากหลายชนิด ทำให้เกิดเงาในหลากหลายมิติด้วย
- คนเชิด
- คนพากษ์
การทำหุ่นเงาอย่างง่าย
วัสดุที่ใช้- กระดาษแข็งเทา-ขาว
- กระดาษแก้วแท้สี
- กาว
- กรรไกร
คัตเตอร์
- ไม้เหลาขนาดเหมาะกับหุ่น
- สก๊อตเทปใส
- ที่เจาะรู
- เป็กสองขา
- ดินสอ ปากกา
วิธีทำ- วาดรูปตามต้องการลงบนกระดาษ
- เจาะฉลุลายบริเวณที่ต้องการให้แสงผ่าน หรือบริเวณที่ต้องการให้เป็นสี
- นำกระดาษแก้วสีตามชอบปิดทับที่เจาะฉลุไว้
- เมื่อได้ตัวหุ่นแล้ว
ใช้สก๊อตเทปติดไม้เข้ากับตัวหุ่น
สำหรับหุ่นที่ต้องการให้ขยับตัวได้ - ร่างรูปที่ต้องการบนกระดาษธรรมดา
- เมื่อวาดลงกระดาษแข็ง
ให้แยกชิ้นส่วนบริเวณที่ต้องให้ขยับ และเผื่อกระดาษสำหรับเชื่อมต่อ
- เจาะรูบริเวณที่ต้องการให้ติดกันและขยับได้
- ทาบกระดาษสองชิ้นที่เจาะรูแล้วเข้าด้วยกันแล้วใช้เป๊กสองขาใส่เข้าไปเพื่อเชื่อมชิ้นส่วน
- ลองขยับดู ติดไม้เหลากับตัวหุ่น และบริเวณอื่นที่ต้องการให้หุ่นขยับได้
เทคนิคพื้นฐานการเล่นหุ่นเงาที่ควรรู้- การพากษ์ และการเชิดหุ่นเงาต้องสัมพันธ์กัน
- ระยะของหุ่นและแสงนั้นมีผลต่อเงา
คือ เมื่อหุ่นอยู่ใกล้จอ เงาจะมีขนาดเท่าจริง แต่เมื่อหุ่นอยู่ห่างจอหรือเข้าใกล้ไฟ
เงาจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
- การประยุกต์และการปรับใช้ หุ่นเงานั้นขึ้นอยู่กับการทดลองจริง
และการริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละคน
หลักสูตรและส่วนหนึ่งของความรู้สึกและความคิดเห็นของผู้ที่ผ่านการอบรมหุ่นเงา
|